"ศิลปะที่ถูกโจรกรรม"
"ศิลปะที่ถูกโจรกรรม"
ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น |
จิตรกร | โกลด มอแน |
---|---|
ปี | ค.ศ. 1872 |
สื่อ | จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ |
มิติ | 48 cm × 63 cm (18.9 in × 24.8 in) |
สถานที่ | พิพิธภัณฑ์มาร์มอต็องมอแน, ปารีส, ฝรั่งเศส |
ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น (ฝรั่งเศส: Impression, soleil levant, อังกฤษ: Impression, Sunrise) เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบที่วาดโดยโกลด มอแน จิตรกรชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1872 ภาพมีขนาด 48 × 63 เซนติเมตร แสดงภาพทิวทัศน์ท่าเรือเมืองเลออาฟวร์ ปัจจุบันได้รับการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์มาร์มอต็องมอแนในกรุงปารีส
ในปี ค.ศ. 1872 มอแนเดินทางไปเยี่ยมบ้านเกิดที่เมืองเลออาฟวร์แล้ววาดภาพหลายภาพที่ท่าเรือ มีหกภาพที่แสดงถึงช่วงเวลาย่ำรุ่ง กลางวัน โพล้เพล้ และกลางคืนที่ท่าเรือในมุมมองที่แตกต่างกัน บางจุดวาดจากท่าเรือโดยตรง บางจุดวาดจากห้องพักในโรงแรมที่ใกล้กับท่าเรือมอแนวาดภาพ ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น จากหน้าต่างโรงแรมที่มองออกไปเห็นท่าเรือเลออาฟวร์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1872 ต่อมาภาพนี้ถูกจัดแสดงในนิทรรศการของศิลปินนอกขนบที่กรุงปารีส ปี ค.ศ. 1874 ร่วมกับงานของศิลปินอื่น ๆ เช่น แอดการ์ เดอกา, กามีย์ ปีซาโร, ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ และอัลเฟรด ซิสลีย์ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น เป็นภาพท่าเรือเลออาฟวร์ยามย่ำรุ่ง มีเรือเล็กสองลำที่มีผู้คนบนเรืออยู่ด้านหน้า ด้านหลังมีปล่องควันเรือจักรไอน้ำและจากโรงงานเป็นเงาเลือนราง ด้านบนมีดวงอาทิตย์เป็นจุดสีแดงมีการวิเคราะห์ว่ามอแนใช้ฝีแปรงแบบหยาบและสั้นเพื่อบันทึกชั่วขณะที่วาดมากกว่าจะวาดให้ดูเหมือนจริง มาร์กาเร็ต ลิฟวิงสโตน ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวว่า "หากทำให้ภาพนี้กลายเป็นภาพขาวดำ จะพบว่าดวงอาทิตย์ที่ปรากฏในภาพหายไปเกือบหมด" ลิฟวิงสโตนกล่าวเพิ่มว่า เทคนิคที่มอแนใช้ส่งผลต่อเปลือกสมองส่วนการเห็นที่รับรู้ถึงความส่องสว่างและสี ทำให้ผู้ชมมองเห็นดวงอาทิตย์สว่างกว่าจุดอื่น[6]
หลุยส์ เลอรัว นักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศสเผยแพร่บทความเกี่ยวกับผลงานในนิทรรศการปี ค.ศ. 1874 ในหนังสือพิมพ์ เลอชารีวารี เขาวิจารณ์ว่า ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น เป็นเพียงภาพร่างมากกว่าจะเป็นภาพที่วาดแล้วเสร็จ และกล่าวเชิงเสียดสีว่าเขารู้สึก "ประทับใจ" ภาพนี้ ต่อมาคำว่าประทับใจของเลอรัวได้รับการยอมรับแพร่หลายจนกลายเป็นชื่อลัทธิประทับใจ ขบวนการทางศิลปะช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภาพนี้เคยถูกขโมยไปจากพิพิธภัณฑ์มาร์มอต็องมอแนในปี ค.ศ. 1985 ก่อนจะถูกตามกลับคืนมาได้ในปี ค.ศ. 1990และถูกนำกลับไปจัดแสดงในปีต่อมา
เคานต์เลอปิกและลูกสาว |
จิตรกร | แอดการ์ เดอกา |
---|---|
ปี | ค.ศ. 1870 |
ประเภท | จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ |
สถานที่ | ถูกโจรกรรม |
เคานต์เลอปิกและลูกสาว (อังกฤษ: Count Lepic and His Daughters) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยแอดการ์ เดอกาจิตรกรคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของสมัยอิมเพรสชันนิสม์
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ภาพเขียนถูกขโมยไปจาก Foundation E.G. Bührle ในเมืองซูริกในสวิตเซอร์แลนด์
เดอะสกรีม
|
เดอะสกรีม (อังกฤษ: The Scream) เป็นภาพวาดโดยเอ็ดเวิร์ด มุงค์ จิตรกรชาวนอร์เวย์ เป็นภาพบุคคลแสดงสีหน้าหวาดกลัวอยู่ด้านหน้า ด้านหลังมีบุคคลสองคนกำลังเดินห่างออกไป และด้านบนเป็นท้องฟ้าสีแดง ชื่อดั้งเดิมที่ตั้งโดยมุงค์ในภาษาเยอรมันคือ Der Schrei der Natur(เสียงกรีดร้องของธรรมชาติ) และ Skrik (เสียงกรีดร้อง) ในภาษานอร์เวย์ มุงค์วาดภาพนี้ไว้ 4 ภาพและทำภาพพิมพ์หินจำนวนหนึ่ง โดยแบบที่เป็นที่รู้จักดีเป็นภาพวาดสีน้ำมัน สีฝุ่นเทมเพอราและสีชอล์กบนกระดาษแข็งในปี ค.ศ. 1893 ปัจจุบันถูกจัดแสดงที่หอศิลป์แห่งชาติในกรุงออสโล
มุงค์กล่าวถึงที่มาของ เดอะสกรีม ในบันทึกส่วนตัวเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1892 ว่า
|
มีการระบุว่าสถานที่ในภาพคือเนินเขาเอเคเบิร์กที่มองลงไปเห็นกรุงออสโลและออสโลฟยอร์ด ซึ่งในช่วงเวลาที่มุงค์วาดภาพนี้ เขามาเยี่ยมน้องสาวที่ป่วยเป็นโรคอารมณ์สองขั้วที่โรงพยาบาลจิตเวชที่ตั้งอยู่ที่ตีนเขา ในปี ค.ศ. 1978 รอเบิร์ต โรเซนบลัม นักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวอเมริกันเสนอว่ามุงค์อาจได้รับแรงบันดาลใจในการวาดบุคคลที่แสดงสีหน้าหวาดกลัวมาจากมัมมี่เปรูที่มุงค์เห็นในงานนิทรรศการโลกที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1889
มีความพยายามในการอธิบายถึงสีท้องฟ้าในภาพ ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ามาจากความทรงจำของมุงค์ที่เห็นท้องฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากการปะทุของภูเขาไฟกรากะตัวเมื่อสิบปีก่อน ส่งผลให้ท้องฟ้ายามเย็นของซีกโลกตะวันตกมีสีแดงจัดนานหลายเดือน ในขณะที่อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเป็นผลมาจากเมฆ nacreous cloud หรือ polar stratospheric cloud ซึ่งเป็นเมฆที่ก่อตัวที่ชั้นสตราโตสเฟียร์และเกิดการเลี้ยวเบนของแสงจนปรากฏเป็นสีรุ้ง
เดอะสกรีม เป็นหนึ่งในผลงานที่เป็นที่รู้จักดีของมุงค์ และเป็นหนึ่งในผลงานที่ส่งผลให้เกิดกลุ่มลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สีหน้าที่แสดงถึงความหวาดวิตกและสภาพแวดล้อมที่บิดเบี้ยว ทำให้ภาพนี้มักถูกเชื่อมโยงกับความผิดปกติทางจิตนอกจากนี้ยังส่งอิทธิพลต่อผลงานอื่น ๆ ในยุคหลัง เช่น หน้ากากโกสต์เฟซในภาพยนตร์ หวีดสุดขีด, ตัวละครไซเลนซ์ในซีรีส์ ดอกเตอร์ฮู และงานล้อเลียนอีกจำนวนมาก
พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย
พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย (ภาษาอังกฤษ: Madonna of the Yarnwinder) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่เป็นงานสะสมส่วนบุคคล
“พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” ราว ค.ศ. 1501 เป็นหัวเรื่องของภาพสีน้ำมันหลายภาพที่เขียนหลังจากที่ภาพเขียนต้นฉบับสูญหายไป เป็นภาพของพระแม่มารีและพระบุตรที่ต่างมองไม้ปั่นด้ายที่พระแม่มารีใช้ด้วยความละห้อย ไม้ปั่นด้ายเป็นทั้งสัญลักษณ์ของความอยู่กับเรือนและสัตยกางเขน (True Cross) ที่พระเยซูจะทรงถูกตรึงต่อมา หรืออาจจะเป็นนัยถึงชะตาซึ่งในตำนานสมัยโบราณใช้ไม้ปั่นด้ายเป็นสัญลักษณ์ ภาพนี้มีด้วยกันอย่างน้อยสามภาพที่เป็นของส่วนบุคคล สองภาพอยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งภาพหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ “พระแม่มารีแลนด์สดาวน์” (The Landsdowne Madonna)
ภาพเขียนต้นฉบับอาจจะเป็นงานที่จ้างโดยฟลอริมุนด์ โรแบร์เตท์องคมนตรีต่างประเทศในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส
พระเยซูผจญพายุในทะเลแกลิลี (ดัตช์: Christus in de storm op het meer van Galilea; อังกฤษ: The Storm on the Sea of Galilee) เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันที่เขียนโดยแร็มบรันต์ จิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นภาพที่ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อิซาเบลลา สจวต การ์ดเนอร์ (ที่เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา) ก่อนที่จะถูกขโมยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1990
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น